วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่13


                                     บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่13

  วัน  อังคาร ที่ 18  พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



กิจกรรม ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย
                            


โดยมีการแสดง ทั้งหมด 9 ชุด

ชุดที่ 1 รำอวยพร  เพลง ระบำดอกบัว




ชุดที่ 2 ระบำเงือก



ชุดที่ 3 ระบำเงือก



ชุดที่ 3 การแสดงละครนิทานสร้างสรรค์  (เรื่องผ้าเช็ดหน้าวิเศษ)




ชุดที่ 4 การแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์




ชุดที่ 5 ระบำรับขวัญข้าว




ชุดที่ 6 ระบำนานาชาติ




ชุดที่ 7 จินตลีลา  เพลง พ่อของแผ่นดิน




ชุดที่ 8 เซิ้งตังหวาย




ชุดที่ 9 ระบำ 4 ภาค




บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่12


                                   บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่12

  วัน  อังคาร ที่ 11  พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




 โรคดาวน์ซินโดรม คืออะไร 
          โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome) หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการดาวน์ คือการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากสาเหตุของโรคนั้นเกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในโครโมโซม โดยชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของของแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Lang don Down ซึ่งเป็นแพทย์คนแรกที่ได้อธิบายอาการของโรคไว้เมื่อปี ค.ศ. 1866 แต่ในปี ค.ศ. 1959 นายแพทย์ Jerome Lejeune นั้นเป็นคนค้นพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากสารพันธุกรรม และปัจจุบันนั้นก็ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมได้ 

 สาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรม กับเรื่องโครโมโซม
          ดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรมซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกิดความผิดปกติ ซึ่งในคนปกตินั้นจะมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เพียง 2 แท่ง แต่ในกลุ่มผู้มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นจะมี 3 แท่ง หรือบางรายอาจจะมีอาการมาจากการย้ายที่ของโครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจจะมีสาเหตุมาจากการมีโครโมโซมแท่งที่ 46 และ 47 ในคน ๆ เดียว โดยกรณีจะเรียกว่า MOSAIC แต่ก็เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากพ่อแม่ที่มีความผิดปกติ

อาการของโรคดาวน์ซินโดรม
          ผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีอาการแสดงทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะร่างกายที่แตกต่างจากคนปกติ การพัฒนาการด้านสมอง ลักษณะนิสัยและพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีภาวะ



ลักษณะทางร่างกาย

          ผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติกว่าคนปกติ โดยเมื่อเกิดมานั้นจะมีรูปร่างลักษณะหน้าตาภายนอกที่คล้ายกันทั้งหมด คือมีดวงตาทั้ง 2 ข้างที่เฉียงขึ้นเล็กน้อย หัวคิ้วทั้ง 2 ข้างหนา ม่านตามีจุดสีขาวเรียกว่า Brush field spots ส่วนของสันจมูกแบน ปากเปิดออก และลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก และหูมีรอยพับมากกว่าปกติ ระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง เส้นลายมือมักมีเส้นตัดขวางเส้นเดียว แทนที่จะมี 2 เส้น นิ้วก้อยเอียงเข้าหานิ้วนาง นิ้วมืออ่อนสามารถดัดไปด้านหลังได้ มีง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเท้ากว้างกว่าปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน มีร่างกายเตี้ยกว่าปกติและส่วนใหญ่มักจะอ้วน

พัฒนาการทางสมอง
          ทางด้านการพัฒนาการของสมอง ในกลุ่มผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรม ในเด็กทารกนั้นจะมีตัวอ่อนนิ่ม เพราะพัฒนาการของกล้ามเนื้อไม่ดี แต่เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเป็นปกติ ระดับของสติปัญญาจะอยู่ในขั้นปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงปานกลาง คือมีไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50 ซึ่งคนปกติจะมีระดับไอคิวตั้งแต่ 70 ขึ้นไป ผู้ที่มีอาการนี้ส่วนใหญ่มักจะมีนิสัยร่าเริง ยิ้มง่าย สุภาพอ่อนโยน อดทน ยอมคน ไม่แข็งกร้าว อบอุ่น ใจดี ซึ่งนิสัยเหล่านี้ทำให้ผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ดี


การประเมินตนเอง
         
           มีความตั้งใจในการเรียน  อาจจะมีง่วงบ้าง ตั้งใจจดบันทึกคำที่อาจารย์เน้นและตั้งใจฟัง อาจารย์จนเข้าใจในบทเรียน ถ้าไม่เข้าใจก็จะหันไปถามเพื่อนบ้างค่ะ

การประเมินเพื่อน

            เพื่อนมีความตั้งใจเรียนดี ตั้งใจจดบันทึก บรรยากาศในห้องสนุกสนาน ช่วยกันตอบคำถามเวลาอาจารย์ที่ถามค่ะ

การประเมินอาจารย์

             อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนได้ดีมาก ไม่ตรึงเครียด บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนาน

 อาจารย์สรุปเนื้อหาได้กระชับและเข้าใจง่ายมีการทำท่าสมมติให้ดู





วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่11

 
                                     บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่11

  วัน  อังคาร ที่ 4  พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



             วันนี้ อาจารย์บอกคะแนนสอบ คะแนนเกินคาดค่ะ ไม่คิดว่าจะได้พอดีๆ ตอนแรกที่สอบเสร็จออกมาคิดว่าจะทำได้น้อยมาก เพราะข้อสอบก็ยากพอสมควร แต่อ่านค่ะตั้งใจทำที่สุด คะแนนออกมาก้พอใจ หลังบอกเสร็จอาจารย์ก็มาเฉลยข้อสอบให้ฟังทีละข้อ ผิดเยอะมากคะแล้วอาจารย์ก็มาอธิบายข้อสอบที่ทำไปก็เรียนมาทั้งหมดแล้ว ส่วนใหญ่จะออกเกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษ สาเหตุที่เป็น มีภาษาอังกฤษด้วยค่ะ อันนี้แหละคะที่ทำแทบไม่ถูกสักข้อ

ประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง ไม่ค่อยได้ตั้งใจฟังเท่าไหร่ค่ะ คุยแต่เรื่องคะแนนกับเพื่อน แล้วพอข้อไหนถูกก้คุยกัน เลยไม่ค่อยได้ฟังที่อาจารย์อธิบาย เข้าใจแค่ว่าข้อนี้ผิดเพราะอะไรค่ะ
เพื่อน เพื่อนบางคนก็คุยกัน เล่นกัน บางคนตั้งใจฟังคะ
อาจารย์ วันนี้อาจารย์อธิบายข้อสอบละเอียดมากคะ อธิบายจนครบทุกข้อ เข้าใจง่ายไม่ซันซ้อน


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่10

                                           บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่10

  วัน  อังคาร ที่ 28  ตุลาคม พ.ศ. 2557



วันนี้เป็นวันสอบกลางภาคค่ะ

                 




บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

   
                                             บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

  วัน  อังคาร ที่ 21  ตุลาคม พ.ศ. 2557



วันนี้ อาจารย์สอนในเรื่องของ
  •  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  •  เด็กสมาธิสั้น 
  • เด็กพิการซ้อน 
อาจารย์ ให้ดูเอกสารประกอบพร้อมกับฟังคำบรรยายเนื้อหาของอาจารย์ แล้วให้ดูวีดีโอ เด็กพิเศษของสถาบันราชนุกูล ดูวีดีโอการดูเเลเด็กพิเศษของมหาวิยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อาจารย์เล่าเรื่องให้ฟังในเนื้อหาที่เรียนพร้อมเเสดงลักษณะท่าทางพฤติกรรมของเด็กพิเศษจากประสบการณ์ที่เคยเจอมา 




    เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ)
    ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดจากความซับซ้อนของความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น
- ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology) ถือเป็นปัจจัยที่มีความซับซ้อนอย่างมาก โดยความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์อาจได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม เช่น โรคจิตเภทหรือจิตเสื่อม (Schizophrenia) และภาวะซึมเศร้า (Depression)
- ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial) เนื่องจากโรงเรียนและบ้านเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สำคัญสำหรับเด็กที่สุด ดังนั้น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก อิทธิพลจากคนรอบข้าง รวมถึงปัญหาที่เกิดจากโรงเรียนและบ้าน จึงมีส่วนสำคัญที่อาจนำไปสู่ปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress) อันเกิดจากการทะเลาะกับผู้ปกครอง รายได้ครอบครัวที่น้อย การอาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น หรืออาจเกิดจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ตึงเครียดในชีวิต เช่น พ่อแม่แยกทางกัน และการเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงการทารุณกรรมเด็ก 


เด็กสมาธิสั้น เรียกย่อว่า ADHD เป็นลักษณะที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ประกอบ ด้วยปัญหาหลักใน 3 ด้านคือ
1) สมาธิสั้น
2) ซนอยู่ไม่นิ่ง
3) หุนหันพลันแล่น
เด็กมักจะทำอะไรได้ไม่นาน จะวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย ในเด็กเล็กจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นเด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
เด็กมักซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก เหลียวซ้ายแลขวา ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุข ปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ ชอบคุย ส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
เด็กยังมีความหุนหันพลันแล่น ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ ไม่อยู่ในกติกา ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน


ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
สาเหตุของความพิการซ้อนมักเกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมของระบบประสาทบางส่วน เช่น สติปัญญา (Intelligence) และความไวของประสาทสัมผัส (Sensory sensitivity) แม้ว่าในเด็กบางรายจะไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยรายที่สามารถระบุสาเหตุได้ มักพบว่าอาการพิการซ้อนเกิดจากปัจจัยทางชีวเคมีในช่วงก่อนกำเนิด (Prenatal Biomedical factors) หรือจากปัจจัยทางพันธุกรรม อันเนื่องมาจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ อาจเชื่อมโยงกับโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Genetic Metabolic Disorders) การทำหน้าที่ผิดปกติของอวัยวะในร่างกายในการสร้างเอนไซม์ (Dysfunction in production of enzymes) ซึ่งนำไปสู่การสะสมของสารพิษในสมอง และส่งผลให้สมองผิดปกติ (Brain Malformation)

การนำไปประยุกต์ใช้


  • การปรับพฤติกรรมหรือทัศนคติของเด็ก จากความกลัว ความซึมเศร้าของเด็ก โดยหากิจกรรมต่างๆให้เด็กได้ลงมือทำ แล้วให้คำชมเชยเมื่อได้เด็กทำได้ เพื่อเป็นการเสริมเเรงหรือกำลังใจกับเด็ก
  • การให้ความรู้หรือคำเเนะนำกับพ่อเเม่ในการดูแลเด็กพิเศษ
  • การจัดกิจกรรมที่ช่วยลดพฤติกรรมเด็กที่อยู่ไม่นิ่ง โดยการหากิจกรรมมาให้เด็กได้เล่น หรือลงมือกระทำด้วยตัวเอง เพื่อฝึกความอดทนและฝึกสมาธิในการทำงานของเด็ก


  • การประเมิน
    ตนเอง วันนี้ไม่ค่อยได้ตั้งใจเรียนเท่าไหร่ค่ะ เข้าห้องช้านิดหน่อยเลยได้นั่งข้างหลัง เผลอไปคุยกับพื่อนบ้างเลยตาม อาจารย์ไม่ค่อยทัน แต่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนไปนะคะ อันไหนที่ไม่ทันเวลาเรียนก้คอยถามเพื่อนที่นั่งข้างๆค่ะ
    เพื่อน เพื่อนแต่ละคนตั้งใจเรียนค่ะ บางคนก็คุยกัน เล่นกันบ้าง แต่ทุกคน คงจะเข้าใจเรื่องที่เรียน
    อาจารย์ วันนี้อาจารสอนสนุกค่ะ มีวีดีโอ มาแนะนำ แสดงบทบาทสมมติ แถมยังบอกแนวข้อสอบค่ะ