วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่12


                                   บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่12

  วัน  อังคาร ที่ 11  พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




 โรคดาวน์ซินโดรม คืออะไร 
          โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome) หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการดาวน์ คือการเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากสาเหตุของโรคนั้นเกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในโครโมโซม โดยชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของของแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ John Lang don Down ซึ่งเป็นแพทย์คนแรกที่ได้อธิบายอาการของโรคไว้เมื่อปี ค.ศ. 1866 แต่ในปี ค.ศ. 1959 นายแพทย์ Jerome Lejeune นั้นเป็นคนค้นพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากสารพันธุกรรม และปัจจุบันนั้นก็ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมได้ 

 สาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรม กับเรื่องโครโมโซม
          ดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรมซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกิดความผิดปกติ ซึ่งในคนปกตินั้นจะมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เพียง 2 แท่ง แต่ในกลุ่มผู้มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นจะมี 3 แท่ง หรือบางรายอาจจะมีอาการมาจากการย้ายที่ของโครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจจะมีสาเหตุมาจากการมีโครโมโซมแท่งที่ 46 และ 47 ในคน ๆ เดียว โดยกรณีจะเรียกว่า MOSAIC แต่ก็เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากพ่อแม่ที่มีความผิดปกติ

อาการของโรคดาวน์ซินโดรม
          ผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีอาการแสดงทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะร่างกายที่แตกต่างจากคนปกติ การพัฒนาการด้านสมอง ลักษณะนิสัยและพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีภาวะ



ลักษณะทางร่างกาย

          ผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติกว่าคนปกติ โดยเมื่อเกิดมานั้นจะมีรูปร่างลักษณะหน้าตาภายนอกที่คล้ายกันทั้งหมด คือมีดวงตาทั้ง 2 ข้างที่เฉียงขึ้นเล็กน้อย หัวคิ้วทั้ง 2 ข้างหนา ม่านตามีจุดสีขาวเรียกว่า Brush field spots ส่วนของสันจมูกแบน ปากเปิดออก และลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก และหูมีรอยพับมากกว่าปกติ ระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง เส้นลายมือมักมีเส้นตัดขวางเส้นเดียว แทนที่จะมี 2 เส้น นิ้วก้อยเอียงเข้าหานิ้วนาง นิ้วมืออ่อนสามารถดัดไปด้านหลังได้ มีง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเท้ากว้างกว่าปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน มีร่างกายเตี้ยกว่าปกติและส่วนใหญ่มักจะอ้วน

พัฒนาการทางสมอง
          ทางด้านการพัฒนาการของสมอง ในกลุ่มผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรม ในเด็กทารกนั้นจะมีตัวอ่อนนิ่ม เพราะพัฒนาการของกล้ามเนื้อไม่ดี แต่เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเป็นปกติ ระดับของสติปัญญาจะอยู่ในขั้นปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงปานกลาง คือมีไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50 ซึ่งคนปกติจะมีระดับไอคิวตั้งแต่ 70 ขึ้นไป ผู้ที่มีอาการนี้ส่วนใหญ่มักจะมีนิสัยร่าเริง ยิ้มง่าย สุภาพอ่อนโยน อดทน ยอมคน ไม่แข็งกร้าว อบอุ่น ใจดี ซึ่งนิสัยเหล่านี้ทำให้ผู้ที่มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ดี


การประเมินตนเอง
         
           มีความตั้งใจในการเรียน  อาจจะมีง่วงบ้าง ตั้งใจจดบันทึกคำที่อาจารย์เน้นและตั้งใจฟัง อาจารย์จนเข้าใจในบทเรียน ถ้าไม่เข้าใจก็จะหันไปถามเพื่อนบ้างค่ะ

การประเมินเพื่อน

            เพื่อนมีความตั้งใจเรียนดี ตั้งใจจดบันทึก บรรยากาศในห้องสนุกสนาน ช่วยกันตอบคำถามเวลาอาจารย์ที่ถามค่ะ

การประเมินอาจารย์

             อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนได้ดีมาก ไม่ตรึงเครียด บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนาน

 อาจารย์สรุปเนื้อหาได้กระชับและเข้าใจง่ายมีการทำท่าสมมติให้ดู





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น